ระบบน้ำที่เหมาะสมกับท่อ PPR เช่น ระบบท่อประปา, ท่อน้ำร้อน, ท่อน้ำเย็นสำหรับที่พักอาศัย, และสถานประกอบการ เช่น บ้านพักอาศัย โรงพยาบาล โรงแรม อาคารสำนักงาน อาคารเรียน ,ระบบท่อน้ำเย็นสำหรับระบบปรับอากาศ, สารเคมี ในโรงงานอุตสาหกรรม, ระบบท่อน้ำสำหรับการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร, ระบบท่อสำหรับสระว่ายน้ำ, ระบบท่อสำหรับการเกษตรกรรม พืชสวน หรือพืชเรือนกระจก ,ระบบท่อน้ำเพื่อการบริโภค ทั้งน้ำร้อนและเย็น ภายในอาคาร , ท่อพ่นเคมี แรงดันสูง ฯลฯ เนื่องด้วยคุณสมบัติส่วนตัวของท่อ PPR จึงทำให้ท่อ PPR สามารถนำไปใช้งานได้อย่างหลากหลาย
เรโน เทค (RNT) ขอยกตัวอย่างประเภทของไหลที่ไหลในท่อ PPR โดยคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
-
ท่อ PPR สำหรับใช้เป็นท่อน้ำดี = แรงดันภายในท่อ, อัตราการไหลต่อหน่วยเวลา, ความง่ายในการติดตั้ง, อุณหภูมิของน้ำ, การสั่นสะเทือนของเส้นท่อ เป็นต้น (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ Click )
-
ท่อ PPR สำหรับใช้เป็นท่อน้ำเสีย = ประเภทของน้ำเสีย (มีเคมีปนเปื้อน, มีไขมันปนเปื้อน) , แรงดันในท่อ, อัตราการไหลต่อหน่วยเวลา, ความยากง่ายในการติดตั้งและซ่อมบำรุงในอนาคต, อุณหภูมิของน้ำเสีย เป็นต้น (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ Click )
-
ท่อ PPR สำหรับใช้เป็นท่อท่อสารเคมี = ชื่อสารเคมี, แรงดันสูงสุด-ต่ำสุด ในท่อขณะทำงาน, อัตราการไหล, การซ่อมบำรุงในอนาคต ความเสียหายหากเกิดการรั่วไหล เป็นต้น
-
ท่อ PPR สำหรับใช้เป็นท่อน้ำอุณหภูมิสูง = อุณหภูมิสูงสุดที่ใช้งาน, แรงดันสูงสุด-ต่ำสุด ในท่อขณะทำงาน, อัตราการไหลความเสียหายหากเกิดการรั่วไหล เป็นต้น
-
ท่อ PPR สำหรับใช้เป็นท่อลมอัด = แรงดันสูงสุดในการใช้งาน, อัตราการไหลของ compressed air, ความยากง่ายในการติดตั้ง และ ซ่อมบำรุงในอนาคต เป็นต้น