ท่อ PPR เป็นสิ่งที่ทุกคนมีโอกาสที่จะได้ใช้งานกันอยู่เสมอ ทั้งภายในบ้านหรือเป็นสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา ซึ่งบางคนก็อาจจะรู้จักเป็นอย่างดี เพราะเป็นวัสดุที่ทุกคนใช้กันอยู่ภายในอาคารหรือภายในบ้าน โดย
ท่อ PPR คือท่อสำหรับงานระบบท่อน้ำประปา ท่อน้ำร้อน บางคนอาจจะเรียก ท่อ PPR ว่าท่อสีเขียว ซึ่งมีคุณสมบัติต่างกันด้วย คือ ท่อ PPR PN10 = รับความดันได้ 10 บาร์ และเหมาะกับน้ำอุ่นน้ำเย็น และ ท่อ PPR PN20 = รับความดันได้ 20 บาร์ และเหมาะกับน้ำร้อน และท่อ PPR นั้นเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติของความทนทาน ความแข็งแรง และถูกออกแบบ เพื่อใช้กับงานระบบประปาเป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีคุณสมบัติอีกมากมายที่ใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เรามาเริ่มรู้จักคุณสมบัติ และข้อดีของท่อ PPR กันเลยดีกว่า
คุณสมบัติของท่อ PPR ที่ต้องรู้ เพื่อประโยชน์ของการใช้งาน
ท่อ PPR สามารถผสานท่อกับข้อต่อเนื้อเดียว โดยปกติแล้วท่อประปาอย่างท่อ PVCนั้นต้องใช้กาวต่อกับอุปกรณ์ข้อต่อต่างๆ เนื่องจากเวลามีแรงดันน้ำเยอะๆ หรือถ้าติดกาวไม่แน่นพอ จะทำให้เกิดการหลุดการรั่วได้ อีกทั้งท่อ PPR สามารถเชื่อมกับอุปกรณ์ต่างๆด้วยการหลอมผสานผ่านเครื่องเชื่อมท่อแบบพิเศษ และการหลอมแบบนี้ จะทำให้ท่อและอุปกรณ์ผสานเป็นเนื้อเดียวกันได้ โดยทำให้ปัญหาท่อหลุด หรือน้ำซึม หรือน้ำรั่ว มีน้อยลง
ท่อ PPR สามารถทนน้ำร้อนได้ถึง 95 องศา แต่ท่อประปาอย่าง PVC ไม่สามารถทนความร้อนได้ดีเท่าท่อ PPR และท่อ PPR เป็นตัวเลือกแบบใหม่สำหรับคนที่อยากติดตั้งระบบน้ำอุ่น หรือน้ำร้อนในอาคาร และท่อ PPR PN10 มีไว้สำหรับน้ำอุ่น และ PN20 คือสำหรับน้ำร้อน ดังนั้นจะต้องใช้ให้ถูกประเภทของการใช้งาน
ความทนทาน ท่อ PPR นั้นถูกผลิตด้วยวัสดุที่มีความเหนียว และยืดหยุ่นมากกว่าท่อ PVC จึงทำให้สามารถรับแรงดันภายในและภายนอกได้ดี
ท่อ PPR สามารถทนแรงดัน 10 และ 20 บาร์ และท่อ PPR สามารถทนแรงดันได้มากกว่าท่อ PVC
ท่อ PPR มีอายุการใช้งานยาวนานมากกว่า 50 ปี รวมถึงมีเนื้อพลาสติกที่มีคุณภาพ และมีความหนาแน่นสูง จึงทำให้แสงลอดผ่านไม่ได้ และหมดปัญหาเรื่องของสนิมและตะกรันในงานระบบประปาได้อีกด้วย
นอกจากคุณสมบัติของท่อ PPR แล้วยังมีข้อดีมากมายเช่นกัน เช่น การซ่อมแซม ท่อ PPR นั้น สามารถซ่อมแซมอุดรูรั่วได้ด้วยการใช้แท่งซ่อมอุดรูรั่ว และการใช้งานกับท่อชนิดอื่น ท่อ PPR สามารถต่อเข้ากับท่อ PVC ได้ ดังนั้นสุขภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในบ้านนั้นสามารถใช้กับท่อ PPR ได้เช่นกัน และท่อ PPR ถูกผลิตมาในมาตรฐานที่สามารถใช้งานได้กับท่อและสุขภัณฑ์ต่าง ๆ ได้อีกด้วย
ท่อ PPR สามารถเชื่อมต่อกับท่อ PVC ได้หรือไม่
ท่อ PPR นั้นมีคุณสมบัติมากมายทั้งมีความหนาแน่น มีความแข็งแรงเป็นอย่างมาก และสามารถต่อกับท่ออื่น ๆ ได้ทุกชนิด โดยการต่อท่อนั้นจะต่อผ่านอุปกรณ์ เช่น เกลียวหรือหน้าแปลน แต่ไม่สามารถที่จะเชื่อมโดยการประสานเนื้อท่อเข้าด้วยกันกับท่อชนิดอื่น ๆ ได้ เพราะโครงสร้างของโมเลกุล PPR นั้นจะยึดประสานกับท่อ PPR กันเองเท่านั้น โดยท่อ PPR และ ท่อ PVC สามารถต่อแบบเกลียว เข้าหากันได้เลย ไม่ว่าจะใช้เป็นเกลียวทองเหลือง หรือ เกลียว PVC ก็ได้
การเชื่อมต่อด้วยวิธีการหลอมโดยให้ความร้อนหลอมละลาย ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อของ ท่อ PPR กับ PPR โดยการให้ความร้อนหลอมละลายประสานเป็นเนื้อเดียวกัน
การเชื่อมต่อด้วยระบบเกลียว ซึ่งเป็นข้อต่อที่มีด้านหนึ่งเป็นเกลียวโลหะ และอีกด้านนั้น จะเป็นวัสดุ PPR ดังตัวอย่างจากภาพ (เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วน ยังมีข้อต่อหลากหลายประเภท เพื่อความสะดวกในการติดตั้ง)
การเชื่อมต่อแบบหน้าแปลน หรือหน้าจาน จะเป็นข้อต่อวัสดุ PPR โดยมีด้านหนึ่งเป็นการเชื่อมหลอมให้ความร้อนกับตัวแปลงหน้าจาน และอีกด้านหนึ่งจะเป็นหน้าแปลนเหล็ก หรือหน้าแปลน PVC ทั่ว ๆ ไป ซึ่งจะเหมาะสำหรับในการต่อท่อข้ามประเภทที่มีขนาดใหญ่ ดังตัวอย่างจากภาพ
ซึ่งในปัจจุบันท่อ PPR นั้นถูกใช้งานอย่างหลากหลายเช่นกัน ทำให้ท่อ PPR นั้นที่นิยมใช้ในอาคารสำนักงานหรืองานประปาทั่วไป เพราะท่อ PPR นั้นมีวัสดุที่ทนทานและ ทนแรงดัน และมีความสามารถในด้านของความทนทานอุณหภูมิที่ร้อนได้ดี ซึ่งสามารถเชื่อมกับข้อต่อด้วยความร้อน เพื่อลดปัญหาการรั่วซึมตามข้อต่อที่มีมากในท่อ PVC ทำให้มั่นใจในเรื่องของปัญหาการรั่วซึมได้ ทำให้ PPR เป็นท่อที่เหมาะการใช้การต่อกับท่อ PVC ได้เป็นอย่างดี และเหมาะสำหรับงานระบบประปาน้ำอุ่น และประปาน้ำร้อน และในงานประปาภายในอาคารอีกด้วย