หากพูดถึง “ท่อน้ำ” แน่นอนว่าในตลาดมีท่อน้ำมากมายหลากหลายชนิดที่มีวางจำหน่ายให้เลือกซื้อได้ตามความต้องและความเหมาะสมต่อการใช้ ซึ่งการเลือกท่อน้ำ ให้เหมาะสมต่อการใช้งานนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ดังนั้นการเลือกใช้ท่อให้เหมาะสมกับสภาวะการทำงาน หรือสภาพแวดล้อมจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง หลายคนจึงนิยมเลือกใช้งาน ท่อ PPR กันเป็นอันดับต้น ๆ ด้วยคุณสมบัติที่ดีเยี่ยม มีความทนทานสูง บทความนี้ Rano Tech จะพาทุกคนมาดูกันว่า ระบบท่อน้ำที่เหมาะกับท่อ PPR นั้นมีอะไรบ้าง
ระบบท่อน้ำที่เหมาะกับการใช้งานท่อ PPR ได้แก่
ท่อน้ำประปา ที่ใช้ในการอุปโภคและบริโภค
ปัญหาที่มักพบสำหรับระบบท่อน้ำประปาในการอุปโภคและบริโภคที่ใช้ท่อ PVC หรือท่อฟ้า คือการรั่วซึม ในบางครั้งอาจต้องมีการรื้อฝ้า รื้อผนัง รื้อพื้นเพื่อซ่อมแซม ซึ่งส่งผลทำให้การซ่อมบำรุงเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและเสียเวลา ดังนั้นหากมีการเปลี่ยนมาใช้ท่อ PPR หรือวางระบบท่อ PPR ตั้งแต่เริ่มจะช่วยลดปัญหาเรื่องการรั่วซึมได้ในระยะหนึ่ง เนื่องจากท่อพีพีอาร์ ผลิตจากพลาสติกคุณภาพสูงที่ทนต่อแรงดัน และมีความยืดหยุ่นสูง รวมถึงการเชื่อมต่อท่อ PPR ที่ใช้ความร้อนในการเชื่อมสวนท่อเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดรอยรั่วได้ยากกว่าการทากาวเชื่อมท่อติดกัน และยังสามารถมั่นใจได้ว่า น้ำที่ถูกส่งผ่านท่อจะไม่ปนเปื้อนจากกาวเชื่อมท่อ
ท่อลมอัด
ท่อลมอัดมีหลากหลายประเภท อาทิ ท่อลมอัดสำหรับเติมยางรถยนต์ ท่อลมอัดสำหรับขับเคลื่อนอุปกรณ์ในอุตสาหกรรม หรือท่อลมอัดสำหรับเป่าทำความสะอาด เป็นต้น โดยปกติแล้วท่อลมอัดมักจะนิยมใช้ท่อเหล็กแต่ปัญหาที่ตามมาคือการเกิดสนิมภายในท่อ เพราะท่อลมอัดมีทั้งน้ำ ความชื้น รวมทั้งอุณหภูมิสูงจากการอัดลม หากปล่อยให้สนิมเหล่านั้นเข้าไปในอุปกรณ์ จะเกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ปลายทางได้เป็นอย่างมาก ดังนั้นการหันมาเลือกใช้งาน ท่อ PPR ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป เพราะท่อพีพีอาร์เป็นวัสดุที่ทำจากโพลีโพรไพลีน (Polypropylene) ที่จะไม่ทำให้ก่อเกิดสนิมอย่างแน่นอน ช่วยลดปัญหาท่อเสียหายชำรุดได้เป็นอย่างดี
ท่อรดน้ำ ท่อพ่นปุ๋ย ท่อพ่นสารเคมีฆ่าแมลง ฆ่าหญ้า
เกษตรกรมักจะเลือกวิธีที่ประหยัดที่สุดสำหรับการรดน้ำ พ่นปุ๋ย พ่นสารเคมีฆ่าแมลง ฆ่าหญ้า จึงนิยมใช้ท่อ HDPE แบบเชื่อมชน แต่ข้อที่ควรระวังของการใช้ท่อ HDPE คือใช้ท่อที่มีคุณภาพและการเชื่อมจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานการเชื่อม หากใช้ท่อ HDPE มีคุณภาพไม่ดีพอหรือการเชื่อมไม่ดีพอ อาจทำให้เกิดการรั่วที่รอยเชื่อมชน การใช้งานก็จะไม่สัมฤทธิผล แต่ถ้าเลือกติดตั้งเป็นท่อ PPR แบบเชื่อมสวม และทำการเชื่อมแบบถูกต้องตามมาตรฐาน ชาวเกษตรกรจะหมดปัญหาเหล่านั้น ทั้งนี้ท่อพีพีอาร์ ยังมีความทนทานต่อสารเคมีได้เป็นอย่างดี จะทำให้การรดน้ำ ให้ปุ๋ย พ่นยา เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ท่อที่ใช้ในโรงงาน ท่อน้ำเกลือ ท่อสารเคมี กรด ด่าง
แน่นอนว่าการเลือกใช้งานท่อ PPR เป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์มากที่สุดสำหรับงานระบบท่อที่ใช้ในโรงงาน เพราะท่อพีพีอาร์มีคุณสมบัติทนต่อการกัดกร่อนได้ดีกับเคมีส่วนใหญ่นั่นเอง ดังนั้นท่อ PPR จึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในโรงงานต่าง ๆ อาทิ โรงงานที่ต้องมีการลำเลียงสารเคมี โรงงานที่มีการลำเลียงของเหลวที่เป็น กรด-ด่าง โรงงานที่มีการลำเลียงของเหลวที่มีความร้อน หรือต้องใช้แรงดันสูงในการส่งต่อของเหลวผ่านท่อ เป็นต้น
ระบบท่อกำจัดปลวกและแมลง
ส่วนใหญ่หลายบริษัทกำจัดปลวกเลือกเดินท่อด้วย HDPE ที่มีการต่อแบบเชื่อมชน แต่ปัญหาคือจะมีโอกาสหลุดหรือรั่วได้เมื่อใช้งานมากกว่า 1 ปี หลังจากที่ท่อเหล่านั้นรั่วไปแล้ว น้ำยากำจัดปลวกก็จะไม่สามารถเดินทางไปยังจุดเป้าหมายที่ติดตั้งหัวสเปรย์ไว้ได้ จึงส่งผลทำให้การกำจัดปลวกและแมลงไม่ได้เป็นไปตามผลที่ตั้งใจไว้ บ้านและอาคารก็จะมีปลวกขึ้นได้ การแก้ไขท่อที่ถูกติดตั้งตั้งแต่ตอนสร้างฐานบ้านขณะก่อสร้างจะแก้ไขภายหลังจะมีความยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายสูง แต่หากเลือกใช้งานท่อพีพีอาร์แบบเชื่อมสวม ด้วยความแข็งแรงทนทาน ที่มีอายุการใช้งานถึง 50 ปี ก็จะหมดปัญหาเหล่านั้น
ท่อน้ำเสีย
ในกรณีนี้ ยังไม่ค่อยมีใครนำท่อพีพีอาร์ไปใช้กับท่อน้ำเสีย เพราะคิดว่าท่อน้ำเสียไม่มีแรงดัน จึงคิดประหยัดต้นทุนในการก่อสร้างโดยใช้ท่อพีวีซี แต่ในความเป็นจริง หากเกิดการรั่วของน้ำเสีย หรือท่อสิ่งปฏิกูลจากส้วม จะส่งผลให้เกิดความน่ารังเกียจ และเสียหายเป็นอย่างมาก และค่าความเสียหายนี้ ประเมินไม่ได้เลยกับค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการติดตั้งท่อ PPR ให้ดีตั้งแต่เริ่มโครงการ ด้วยคุณสมบัติที่ดีของท่อ PPR จะทำให้ปัญหาการรั่วซึมในอนาคตนั้นหมดไป