วิธีการใช้เครื่องเชื่อมท่อ PPR แบบง่าย
เครื่องเชื่อมท่อ PPR ใช้งานแสนง่าย ภายใต้คุณภาพมาตรฐาน
การเชื่อม หรือ Welding นั้น เป็นวิธีการต่อวัสดุให้ติดกัน อาจจะเป็นโลหะหรือเทอร์โมพลาสติก ซึ่งจะใช้วิธีการหลอมละลาย เมื่อวัตถุเย็นตัวลงรอยต่อนั้นก็จะแข็งแรง ในการเชื่อมงานโลหะมักจะใช้วิธี การเชื่อมอาร์ค การเชื่อมแก๊ส การเชื่อมเลเซอร์ เป็นต้น ส่วนการเชื่อมงานเทอร์โมพลาสติก จะใช้วิธีการเชื่อมด้วยความร้อนสูง สำหรับวิธีการเชื่อมท่อพีพีอาร์ก็เช่นกันจะทำการเชื่อมด้วยเครื่องเชื่อมท่อ PPR ซึ่งต้องเลือกใช้ให้ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อให้ได้คุณภาพงานเชื่อมที่สมบูรณ์ ดังนั้นบทความนี้ เรโน เทค จะพาไปทำความรู้จักการเชื่อมท่อพีพีอาร์ ด้วยเครื่องเชื่อมท่อ PPR ให้กระจ่างชัดยิ่งขึ้น ไปติดตามกันเลย
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับท่อพีพีอาร์กันก่อนเป็นอันดับแรก
พารู้จัก ท่อพีพีอาร์ DISMY
ท่อพีพีอาร์ หรือท่อ Polypropylene Random Copolymer ผลิตจากเทอร์โมพลาสติกคุณภาพสูง ได้รับมาตรฐานจากประเทศเยอรมัน ใช้งานได้หลากหลายทั้งท่อน้ำร้อน ท่อลมแรงดันสูง ท่อน้ำบริโภค ทนการกัดกร่อน ใช้วิธีการเชื่อมต่อด้วยเครื่องเชื่อมท่อ PPR ด้วยความร้อน 260 องศาเซลเซียส ละลายปลายท่อและข้อต่อ โดยใช้ระยะเวลาการหลอมละลายที่แตกต่างกันตามขนาดของท่อแต่ละชิ้น แล้วนำท่อพีพีอาร์และข้อต่อมากดเข้าด้วยกัน เมื่ออุณหภูมิของท่อพีพีอาร์ลดลงท่อพีพีอาร์ก็จะผสานเป็นเนื้อเดียวกัน ไร้รอยต่อ ไม่มีปัญหารั่วซึม เป็นลักษณะการทำงานระบบเชื่อมสอดประสานเข้าด้วยกัน ท่อพีพีอาร์ แต่ละขนาดต้องใช้เครื่องเชื่อม PPR ที่มีขนาดและลักษณะเหมาะสมกับหน้างาน ราคาแพงกว่าท่อพีวีซีสีฟ้าทั่วไป แต่
คุณสมบัติโดดเด่น ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก บางคนเรียกว่า ท่อเขียว ก็มี ซึ่งมีทั้งหมด 3 แบบคือ
ท่อน้ำเย็น Class: SDR11 PN10 อุณหภูมิใช้งาน 3 ถึง 55 องศาเซลเซียส แรงดันสูงสุด 10 บาร์ ลักษณะท่อสีเขียวมีแถบสีน้ำเงิน
ท่อน้ำร้อน Class: SDR6 PN20 อุณหภูมิใช้งาน -5 ถึง 95 องศาเซลเซียส แรงดันสูงสุด 20 บาร์ ลักษณะท่อสีเขียวมีแถบสีแดง
ท่อน้ำร้อนไฟเบอร์ Class: SDR6 PN20 Composite Fiber อุณหภูมิใช้งาน -5 ถึง 95 องศาเซลเซียส แรงดันสูงสุด 20 บาร์ มีแกนไฟเบอร์ลดการยืดและหดตัวของท่อ ลักษณะท่อสีเขียวมีแถบสีแดงและวงสีเหลือง
โดยมี 11 คุณสมบัติอันโดดเด่นของท่อพีพีอาร์ ภายใต้แบรนด์ดิสมี่ ดังนี้
PN20 ทนอุณหภูมิได้สูงถึง 95 องศาเซลเซียส PN10 ทนอุณหภูมิได้สูงสุด 55 องศาเซลเซียส
ท่อ PPR รุ่นพิเศษสามารถทนแรงดันได้สูงถึง 20 บาร์ (PN20)
ผลิตจาก Thermo Plastic คุณภาพสูง มาตรฐานเยอรมัน ทนทาน อายุการใช้งานนานกว่า 50 ปี มีความปลอดภัย ใช้กับน้ำดื่มได้อย่างมั่นใจ
วัสดุคุณสมบัติทึบแสง ภายในท่อพีพีอาร์ผิวเรียบ ไม่ทำให้เกิดตะไคร่ ตะกรันภายในท่อ
ระบบข้อต่อเป็นแบบเชื่อมสอดประสานเป็นเนื้อเดียวกัน ไร้ปัญหารั่วซึม
ทนต่อสารเคมี ความเป็นกรด ด่าง
ท่อพีพีอาร์มีฉนวนในตัว ลดการสูญเสียอุณหภูมิได้ ทำให้ประหยัดพลังงาน
ท่อพีพีอาร์น้ำหนักเบา นำไปติดตั้งได้ง่าย หลากหลายขนาด ตั้งแต่ 20 มม. ถึง 200 มม. ด้วยเครื่องเชื่อม PPR
การเชื่อมท่อ PPR ไม่ทำให้เกิดประกายไฟ ไม่มีการใช้น้ำยา ทำให้ปลอดภัยต่อไฟไหม้และสารเคมี
เมื่อติดตั้งแล้วเสร็จสามารถทำการทดสอบระบบได้ทันที ไม่ต้องรอให้กาวประสานแห้ง
ซ่อมแซมท่อพีพีอาร์ได้ง่าย โดยการใช้แท่งพีพีอาร์อุดรูรั่ว
และลักษณะการนำท่อพีพีอาร์ไปใช้งานมีดังนี้
นำไปเป็นท่อน้ำดี ของระบบน้ำอุปโภคบริโภค สำหรับการประปาทั้งบ้านเรือน คอนโดมิเนียม โรงแรม โรงเรียน โรงพยาบาลหรือโรงงานอุตสาหกรรม และระบบสุขาภิบาลต่าง ๆ ระบบน้ำเสีย
ระบบน้ำในระบบอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ต้องใช้น้ำ เช่น ระบบชิลเลอร์ ระบบคูลลิ่งทาวเวอร์ เป็นต้น
ท่อคอนเดนเซอร์ในระบบแอร์หรือระบบชิลเลอร์
โรงงานผลิตและส่งน้ำเข้าระบบการผลิต เช่น ระบบ Reverse Osmosis
ท่อน้ำของสระว่ายน้ำโดยเฉพาะสระว่ายน้ำระบบคลอรีน
ท่อลม ท่อน้ำ ในเครื่องจักรหรืออุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงดันสูง
ท่อส่งสารเคมีที่มีความเป็นกรดและด่างสูง ในอุตสาหกรรมผลิตหรือขนส่ง
งานเกษตร รดน้ำ ปุ๋ย พ่นสารฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า
ระบบท่อกำจัดปลวกและแมลง
วิธีเลือกเครื่องเชื่อมท่อ PPR ให้เหมาะสมกับท่อ PPR
เครื่องเชื่อมท่อ PPR ในการเลือกใช้ต้องคำนึงถึงขนาดท่อและปริมาณของท่อพีพีอาร์ขนาดต่าง ๆ ที่ต้องการใช้ พื้นที่ในการติดตั้งที่มีอย่างจำกัด ลักษณะพื้นที่ติดตั้ง สำหรับท่อพีพีอาร์ขนาดใหญ่กว่า 63 มม. (2”) และมีปริมาณงานที่มาก ต้องใช้เครื่องเชื่อมรุ่นแท่นจับแบบตั้งโต๊ะ และแบบไฮโดรลิกส์ (Hydraulic) เพื่อช่วยทุ่นแรงผู้ปฏิบัติงานในการเชื่อม และให้ได้รอยเชื่อมที่สมบูรณ์แบบ รวมถึงหน้างานที่มีพื้นที่ ระยะท่อ และข้อต่อที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน ให้เลือกวิธีการเชื่อมแบบไฟฟ้า ซึ่งทำงานในที่แคบได้ โดยสามารถปรึกษาได้จากทีมงาน เรโน เทค หรือเพิ่มเพื่อน ไลน์ @ranotech เพื่อขอรับบริการได้ฟรี
โดยเครื่องเชื่อมท่อ PPR นี้จะแบ่งตามขนาดของท่อพีพีอาร์ที่รองรับได้ ทั้งหมด 5 รุ่น ดังนี้
รุ่น WHS D32 DGT : ระบบเชื่อมสอด ใช้สำหรับงานท่อพีพีอาร์ขนาด D20-32 มม. (1/2” – 1”)
รุ่น WPS D63 DGT : ระบบเชื่อมสอด ใช้สำหรับงานท่อพีพีอาร์ขนาด D20-63 มม. (1/2” – 2”)
รุ่น WLPS D110 DGT : ระบบเชื่อมสอด ใช้สำหรับงานท่อพีพีอาร์ขนาด D75-110 มม. (2.1/2” – 4”)
รุ่น WTTS D160 : ระบบเชื่อมสอด ใช้สำหรับงานท่อพีพีอาร์ขนาด D63-160 มม. (2” – 6”)
รุ่น RNTEF D315 : ระบบเชื่อมไฟฟ้า ใช้สำหรับงานท่อพีพีอาร์ขนาด D32-315 มม. (1” – 12”)
วิธีการเชื่อมท่อ PPR ด้วยเครื่องเชื่อมท่อ PPR
ก่อนเริ่มปฏิบัติงานเชื่อมท่อพีพีอาร์ ต้องเตรียมเครื่องมือให้พร้อม ตรวจสอบสภาพชุดเครื่องเชื่อมท่อ PPR เตรียมกรรไกร มาร์คเกอร์ ตลับเมตร แอลกอฮอล์ ข้อต่อ ให้พร้อม ตรวจสอบระบบไฟฟ้าให้พร้อมใช้งาน สภาพแวดล้อม ไม่มีแสงแดด ลม ฝน กระทบ ไม่มีพัดลมเป่าตรงกับแผ่นความร้อน ให้เน้นย้ำไว้เสมอว่า สำหรับการเชื่อมท่อพีพีอาร์นี้หากต้องการให้รอยเชื่อมสมบูรณ์ ต้องควบคุมอุณหภูมิแผ่นความร้อนให้ได้ 260 องศาเซลเซียส และควบคุมเวลาในแต่ละขั้นตอนของท่อพีพีอาร์แต่ละขนาดให้เป็นไปตามตารางมาตรฐานที่ให้ไว้ ซึ่งมีขั้นตอนการเชื่อมท่อพีพีอาร์ ทั้งหมด 6 ขั้นตอน ดังนี้
ตั้งอุณหภูมิแผ่นความร้อนไว้ที่ 260 องศาเซลเซียส
ทำความสะอาดหัวเชื่อม ผิวท่อ ข้อต่อ ที่จะทำการเชื่อม ด้วยแอลกอฮอล์ เพื่อขจัดคราบไขมันและสิ่งสกปรก
ขีดระยะสิ้นสุดการหลอมละลายของท่อด้วยปากกามาร์คเกอร์ ใช้สำหรับการดันท่อไม่ให้เกินระยะที่ทำสัญลักษณ์ไว้
เมื่อดันท่อและข้อต่อถึงระยะที่ขีดไว้แล้ว ให้ทิ้งท่อไว้ตามเวลาที่กำหนดไว้ในตาราง
หลังจากสิ้นสุดเวลาในการให้ความร้อนตามตารางที่ระบุแล้ว ให้ดึงท่อ PPR และข้อต่อออกจากหัวเชื่อมทันที แล้วสวมประสานเข้าด้วยกันให้สุด โดยต้องประสานกันให้สนิท ดันสวมให้สุดในระยะเวลาที่กำหนดตามตาราง
เมื่อเชื่อมประสานท่อเรียบร้อยแล้ว ปล่อยให้ท่อและข้อต่อเย็นตัวลงเอง อ้างอิงเวลาตามตารางที่ให้ไว้