วิธีการเชื่อมท่อพีพีอาร์
ทำไมท่อพีพีอาร์จึงต้องเชื่อมสอด
การเชื่อมท่อพีพีอาร์ มีสองวิธี ดังนี้
การเชื่อมสอด (Socket Fusion)
โดยใช้ความร้อนละลายเนื้อท่อและ ฟิตติ้งส์ เข้าหากัน วิธีนี้ให้ความแข็งแรงของรอยต่อดีที่สุด เพราะมีเนื้อพีพีอาร์ประสานกันมากที่สุด อาจใช้เครื่องเชื่อมแบบหัวเชื่อมความร้อน หรือ Electrofusion (E.F.) ก็ได้ ขึ้นกับความสะดวกและราคาการใช้เครื่องเชื่อมแบบให้ความร้อนผ่านหัวเชื่อมความร้อนจะมีต้นทุนต่ำที่สุด ในกรณีที่ ตั้งแต่ขนาด 2 นิ้วลงมา มีเครื่องแบบกระเป๋าหิ้ว
สามารถถือเชื่อมได้ แต่สำหรับท่อใหญ่ๆ การเชื่อมด้วยเครื่องกระเป๋าหิ้วจะสามารถทำให้ได้คุณภาพยากมากๆ เพราะต้องใช้แรงดันท่อเข้าหากันเป็นนาที ซึ่งคนงานจะไม่สามารถทำได้ดี
จึงแนะนำเครื่องเชื่อมแบบ RNT PPR Hydraulic Welding Machine
ซึ่งเครื่องมี แคล้มป์จับท่อ แล้วใช้แรงดันเข้าหากันโดย ระบบไฮโดรสิกส์ การเชื่อมวิธีนี้จะทำให้รอยเชื่อมมีคุณภาพดีที่สุด แต่ก็มีข้อจำกัดในบางงานที่จะต้องเชื่อมบนที่สูง เพราะเครื่องจะมีน้ำหนักมาก เหมาะกับงานที่สามารถประกอบบนพื้นได้ หากต้องประกอบบนที่สูง เรโน เทค ก็มีเครื่องเชื่อม (RNT EF Welding Machine) และข้อต่อประเภท E.F. Fittings (RNT PPR EF Fittings) สามารถเชื่อมในจุดต่างได้ง่ายดาย
การเชื่อมชน (Butt Fusion) PPR
สามารถใช้วิธีเชื่อมชนได้เช่นกัน แต่วิธีนี้ ความแข็งแรงจะลดน้อยลงกว่าแบบเชื่อมสวมมาก ข้อดีที่สุดของ พีพีอาร์ ที่โฆษณาว่า ไม่รั่วนั้น จะไม่จริงหากใช้การเชื่อมชน พีพีอาร์ เป็นพลาสติกที่มีแรงดึงต่อตารางมิลลิเมตร ไม่สูงนัก จึงไม่แข็งแรงแบบท่อโลหะ ดังนั้น การเชื่อมอย่างพิถีพิถันและเข้าใจหลักวิศวกรรม จึงสำคัญมากๆ การเชื่อมชน ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับงานที่จำเป็น เช่น ไม่มีข้อต่อตรง ในงานบางจุดที่ไม่ได้รับแรงดันมาก ก็อาจทำได้ แต่การเชื่อม ต้องใช้เครื่องมือที่เหมาะสมอย่างยิ่ง คือ เครื่องเชื่อมแบบ ไฮโดรลิกส์ เรโน เทค มีเครื่องประเภทนี้ ให้บริการทั้ง แบบขาย และ แบบเช่า RNT Hydraulic Pipe Welding Machine